ทองหยิบ ทองหยอด

หากจะสุ่มถามคนไทยทั่วไปเกี่ยวกับชื่อของ “ขนมไทย” แล้วนั้น ก็คงมีไม่มีใครไม่คิดถึง  “ขนมทองหยิบและทองหยอด” กันอย่างแน่นอน เพราะขนมไทยทั้งสองต่างถูกกล่าวถึงและใช้ในหากหลายพิธีมงคลเลยก็ว่าได้ บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ “ต้นกำเนิดขนม “ทองหยิบ ทองหยอด”” พร้อมกับความหมายโดยนัยของการใช้ขนมไทยทั้งสองนี้ในงานมงคลกันครับ

ต้นกำเนิด “ทองหยิบ ทองหยอด”

เชื่อว่าหลาท่านน่าจะเข้าใจผิดมาโดยตลอดว่า “ทองหยิบ ทองหยอดเป็นขนมไทยแท้ๆ และมีกำเนิดมาจากความคิดของคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์” แต่ในความเป็นจริงแล้วทองหยิบ ทองหยอดเป็นขนมที่มีต้นตำรับมาจากประเทศโปรตุเกส ( เขาไม่ได้มีดีแค่ทาร์ตไข่นะจะบอกให้  ) แต่ที่กลายมาเป็นขนมหวานขึ้นชื่อของไทยเราได้ก็เนื่องมาจากในสมัยอยุธยา ประเทศไทยได้มีสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ และชาวตะวันตกมากขึ้น ก็เลยมีโอกาสได้รับเอาวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของชาวต่างชาติมาดัดแปลงใช้ในประเทศไทยด้วย ทั้งเรื่องวัฒนธรรมการแต่งกาย และอาหารการกิน ดังนั้นถ้าจะนับกันจริง ๆ ก็ต้องถือว่าคนไทยเรารู้จักทองหยิบ ทองหยอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยานู้นเลยครับ

ความหมายของขนมทองหยิบ

ขนมทองหยิบ เป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะคล้ายดอกไม้สีทอง ทำจากไข่แดงตีจนฟู แล้วนำไปหยอดลงในน้ำเชื่อมเดือด เมื่อสุกแล้วนำมาใส่ถ้วย จับจีบอย่างประณีตให้เหมือนกลีบดอกไม้ สื่อความหมายถึงความมั่งคั่งร่ำรวย ทำการงานสิ่งใดก็จะร่ำรวยมีเงินมีทองใช้ไม่ขาดมือ หยิบเงินหยิบทองสมดังชื่อทองหยิบ

ความหมายของขนมทองหยอด

ขนมททองหยอด เป็นขนมไทยที่มีลักษณะคล้ายหยดน้ำ ทำจากไข่แดงสีเหลือง แล้วนำไปหยอดลงในน้ำเชื่อมเดือดเช่นเดียวกันกับขนมทองหยิบ มีความหมายสื่อถึงทอง จึงมักนำมาใช้ประกอบในพิธีมงคลต่าง ๆ หรือมอบเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญ ๆ แทนคำอวยพรให้ร่ำรวยมีเงินมีทองใช้จ่ายอย่างไม่รู้หมดสิ้น ซึ่งการให้ขนมทองหยอดก็เปรียบเสมือนให้ทองคำแก่กันนั่นเอง

วิธีการทำขนมทองหยิบและทองหยอด

ส่วนผสม ทองหยิบ

• ไข่แดงของไข่เป็ด 4 ฟอง

• น้ำเปล่า 3 ถ้วย

• น้ำตาลทราย 1+1/2 ถ้วย

วิธีทำทองหยิบ

1. เติมน้ำและน้ำตาลทรายลงในกระทะทองเหลือง นำไปตั้งไฟอ่อน คนจนละลาย ปิดไฟ พักทิ้งไว้จนเย็นแล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง

2. เทน้ำเชื่อมลงในกระทะทองเหลือง ใช้ไฟกลางพอน้ำเชื่อมร้อน แต่ไม่ให้เดือดพล่าน

3. ตีผสมไข่แดงจนขึ้นฟู ตักหยอดลงในน้ำเชื่อม พอสุกทั้งสองด้านตักขึ้น พักไว้ให้เย็นแล้วจับจีบให้สวยงาม วางใส่ถ้วย พร้อมเสิร์ฟ

ส่วนผสม ทองหยอด

• ไข่แดงของไข่เป็ด 4 ฟอง

• น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม

• น้ำ 1 ½ ลิตร

•ไข่เป็ด 4 ฟอง

•แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ

•น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม

•น้ำสะอาด 1 ½ ลิตร

•ดอกมะลิ

•กระดังงา

•เทียนอบ

วิธีทำทองหยอด

1.ทำน้ำลอยดอกมะลิ โดยเตรียมน้ำ 1 ½ ลิตร ใส่ลงในภาชนะที่สะอาด จากนั้น ใส่ดอกมะลิ และกระดังงา แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน พอถึงช่วงเช้ามืด ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ให้เอาออก เพื่อไม่ให้ดอกมะลิทำน้ำขม ทั้งนี้ ในส่วนของกระดังงา ให้เอาไฟลนที่กระเปาะของกระดังงา จะช่วยให้มีกลิ่นหอมมากขึ้น

2.ร่อนแป้งข้าวจ้าว จากนั้น ตากแดดเพื่อไล่ความชื้นออกให้หมด แล้วใช้เทียนอบ อบแป้งข้าวเจ้า เพื่อให้แป้งมีกลิ่นหอม

3.เริ่มทำน้ำเชื่อม โดยตักน้ำลอยดอกมะลิ ใส่ลงในหม้อต้ม ผสมกับน้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม โดยใช้ไฟกลางค่อนไฟอ่อน คอยคนให้น้ำตาลละลายเข้ากันกับน้ำอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้น้ำตาลไหม้ติดก้นหม้อ

4.ตอกไข่เป็ด แยกไข่แดงออกจากไข่ขาว ให้ไม่เหลือเมือกไข่ขาวติดออยู่ จากนั้น ใส่ลงในผ้าขาวบาง พอตอกและแยกไข่แดงครบหมดแล้ว ให้รวบผ้าแล้วบิด กรองเอาไข่แดงออกจากผ้าขาวบางลงในชามผสมใบใหญ่

5.พอได้ไข่แดงที่ผ่านการกรองแล้ว ให้ใช้ตะกร้อมือ ตีไข่ให้เข้ากัน โดยให้ตีเข้าหาตัว ทิศทางเดียวตลอด และให้ยกต่ำไว้ จะทำให้ไข่ไม่กระเด็นออกจากชามผสม โดยจะต้องตีไข่ให้ขึ้นฟู จนเป็นเนื้อครีมข้นและมีความหนืดมากกว่าไข่ที่ใช้ทำทองหยิบ เมื่อไข่ข้นเหนียว หนืดได้ที่ดีแล้ว แสดงว่า เนื้อไข่ได้ที่แล้ว พร้อมสำหรับการทำทองหยอด

6.ตักไข่บางส่วนออกมาใส่ชามใบเล็ก แล้วตักแป้งข้าวเจ้าอบควันเทียน ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ มาผสม ค่อย ๆ ใช้ช้อนคนเบา ๆ ไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อไข่กับแป้งผสมกันจนเป็นเนื้อเดียวแล้ว ไม่เห็นเม็ดแป้ง ให้เตรียมช้อนสำหรับทำทองหยอด ตักไข่ขึ้นมา โดยช้อนที่ใช้ ต้องงอปลายช้อนเข้าหากันทั้ง 2 ด้าน เพื่อให้ทองหยอดกลม

7.เตรียมทำทองหยอด โดยต้มน้ำเชื่อมให้เดือด จนขึ้นฟองฟู่ ตลอดเวลา จากนั้น ใช้ช้อนตักไข่ขึ้นมา เวลาตักให้ตักเข้าหาขอบชามขึ้นมาทีละน้อย แล้วทำการหยอด โดยเวลาหยอดให้ทำมือตั้งฉาก แล้วใช้นิ้วโป้งบีบไข่ลงไป จะทำให้ทองหยอดกลม ทำอย่างนี้ จนกว่าจะได้จำนวนตามที่ต้องการ (หากใครต้องการเช็กว่า ทองหยอดกลมหรือไม่ ให้เติมน้ำดอกลอยมะลิเพิ่มลงไป จะทำให้ฟองเดือดหายไป และเห็นตัวทองหยอดได้) พอทองหยอดมีลักษณะใสมันวาวดีแล้ว ให้ปิดไฟ แล้วตักแช่ในน้ำเชื่อมสักพักนึง แล้วยกขึ้น รับประทานได้เลย

และนี้ก็คือ “ต้นกำเนิดขนม “ทองหยิบ ทองหยอด” พร้อมกับวิธีการทำที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านกันครับ หวังว่าจะมีฌอกาสได้ลองทำขนมทั้ง 2 นี้กันนะครับ